งานวิชาการ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

Icon openBook Icon openBook Icon openBook

คำถามที่พบบ่อย

บัณฑิตศึกษา

ทะเบียนและประเมินผลการศึกษา

การยกเลิกสำเร็จการศึกษา กรณีนิสิตไม่สามารถสำเร็จการศึกษาในภาคการศึกษาที่ขอสำเร็จได้ นิสิตจะต้องยื่นคำร้องทั่วไป (จท41) ซึ่งผ่านความเห็นชอบจากอาจารย์ที่ปรึกษา และหัวหน้าภาควิชา/ประธานหลักสูตร โดย

เรียน คณบดีคณะวิทยาศาสตร์

เรื่อง ขอยกเลิกการขอสำเร็จการศึกษา

  • นิสิตขอรับคำร้อง จท 41 ที่ทะเบียนคณะฯ
  • ผ่านความเห็นอาจารย์ที่ปรึกษา และหัวหน้าภาควิชาที่นิสิตสังกัด
  • ยื่น จท 41 พร้อมทั้งแนบบันทึกชี้แจงเหตุผลประกอบคำร้อง ที่ทะเบียนคณะฯ
  • นิสิตติดต่อชำระค่าธรรมเนียมการคืนสถานภาพการเป็นนิสิต ที่สำนักงานการทะเบียน(ก่อน 15.00 น. ทุกวันทำการ) หลังได้รับอนุมัติให้คืนสถานภาพ

ไม่ต้อง แม้การยื่นคำร้องก่อนเกรดออกหมดทุกตัว แต่นิสิตรู้ตัวว่าต้องพ้นสถาพเนื่องจากผลการเรียนก็ไม่ต้องยื่นคำร้อง เพราะเมื่อเกรดออกครบนิสิตต้องพ้นสภาพเนื่องจากผลกาเรียนอยู่ดี

  1. การได้รับสัญลักษณ์ X เกิดจากกรณีต่าง ๆ ดังนี้

    • การบันทึกขาดสอบใน จท38 ไม่ตรงกับ CR58 มักเกิดจากนิสิตได้รับอนุญาตให้เข้าห้องสอบสาย (ภายหลังที่กรรมการควบคุมการสอบบันทึกรายชื่อนิสิตขาดสอบใน จท38 เรียบร้อยแล้ว) และไม่แก้ไขข้อมูลให้ถูกต้อง
    • ปัญหาการบันทึก CR58 เนื่องจากอาจารย์ให้เกรดแก่นิสิตที่ขาดสอบ
    • นิสิตกระทำผิดระเบียบสอบ โดยคณะแจ้งชะลอการให้เกรดแก่นิสิต
    • อาจารย์ผู้สอนส่ง CR58 หลังกำหนดที่สำนักทะเบียนฯ แจ้งไว้
  2. สัญลักษณ์ M : การบันทึกผลการเรียนของนิสิตที่ขาดสอบ ต้องให้ M เท่านั้น (หากอาจารย์จัดสอบให้นิสิตภายหลัง ก่อนการส่ง CR58 อาจารย์จะต้อง บันทึก M ใน CR58 พร้อมแนบเอกสารเพื่อขอแก้สัญลักษณ์ I เพื่อให้นิสิตได้รับผลการประเมินพร้อมนิสิตรายอื่น)

  3. สัญลักษณ์ I หมายถึงการวัดผลไม่สมบูรณ์ จะให้ได้ในกรณีต่าง ๆ ดังนี้

    • นิสิตขาดสอบ โดยยื่นคำร้องภายในกำหนดเวลา และได้รับอนุมัติจากคณบดี
    • นิสิตทำงานที่เป็นส่วนประกอบการศึกษายังไม่สมบูรณ์ และอาจารย์ผู้สอนเห็นสมควรให้รอผลการศึกษา

การขาดสอบของนิสิตสามารถจำแนกออกเป็นกรณีต่าง ๆ ดังนี้

  • การลาป่วย จำแนกเป็น การลาป่วยก่อนสอบ และ การลาป่วยระหว่างสอบ ให้นิสิตยื่นคำร้อง จท44 พร้อมหลักฐานรับรองแพทย์ ภายใน 1 สัปดาห์นับจากวันที่เริ่มป่วย โดยคณบดีจะเป็นผู้พิจารณาให้ได้รับสัญลักษณ์ I ประกอบกับความเห็นของอาจารย์ผู้สอน
  • การขาดสอบเนื่องจากเหตุอันพ้นวิสัย ได้แก่ ไปร่วมงานงานฌาปณกิจบิดา มารดา ปู ย่า ตา ยาย ประสพอุบัติเหตุ ฯลฯ โดยนิสิตจะต้องยืนคำร้อง จท41 เรื่องขออนุมัติขาดสอบเนื่องจากเหตุอันพ้นวิสัย ทันทีที่ทะเบียนคณะ โดยคณบดีจะเป็นผู้พิจารณา ผ่านความเห็นชอบจากคณะกรรมการบริหารคณะ เมื่อนิสิตได้รับอนุมัติให้ขาดสอบ และเปลี่ยนสัญลักษณ์จาก M เป็น I แล้ว อาจารย์จึงดำเนินจัดสอบให้นิสิตและส่งผลการประเมินโดยส่งเอกสารเพื่อขอแก้สัญลักษณ์ I

กรณีนิสิตไม่ประสงค์จะสอบวัดผลประจำภาคการศึกษา แต่จะขอให้อาจารย์ผู้สอนประเมินผลการเรียนจากคะแนนเก็บกลางภาค นิสิตจะต้องแสดงความจำนงโดยเขียนจดหมายถึงอาจารย์ผู้สอนเรื่อง ขอให้ประเมินผลการเรียนรายวิชา จากคะแนนเก็บระหว่างภาคการศึกษา ทั้งนี้ในการส่งผลการประเมินของอาจารย์ผู้สอน จะต้องแนบเกณฑ์การประเมินด้วย

อนึ่งกรณีที่นิสิตขาดสอบและได้สัญลักษณ์ M นิสิตจะต้องส่งคำร้องให้แล้วเสร็จภาคในสัปดาห์ที่ 2 ของภาคการศึกษาถัดไป มิฉะนั้นสัญลักษณ์ M จะถูกเปลี่ยนเป็น F อัตโนมัติ (กรณีติด M ภาคการศึกษาปลาย ต้องยื่นคำร้องภายในสัปดาห์ที่ 2 ของภาคฤดูร้อน แม้ไม่ได้ลงทะเบียนเรียนในภาคฤดูร้อนก็ตาม)

  1. บุคคลภายนอกติดต่อภาควิชาเจ้าของรายวิชาที่ประสงค์จะเข้าร่วมเรียนรายวิชา
  2. คณะกรรมการบริหารหลักสูตรอาจพิจารณารับบุคคลอื่นที่มิใช้นิสิต เป็นผู้ร่วมฟังการบรรยายในบางรายวิชาได้ แต่ไม่เกิน 6 หน่วยกิตต่อภาคการศึกษา หรืออาจพิจารณารับนิสิตนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษาของมหาวิทยาลัยหรือสถานการศึกษาอื่นทั้งในประเทศและต่างประเทศ มาทำการศึกษาค้นคว้าเฉพาะเรื่องในมหาวิทยาลัยได้ โดยให้ดำเนินการเป็นรายภาคการศึกษา หรือตามช่วงเวลาที่เหมาะสม หรืออาจพิจารณารับนิสิตนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษาซึ่งกำลังศึกษาอยู่ในมหาวิทยาลัยหรือสถาบันการศึกษาอื่นทั้งในประเทศและต่างประเทศ เป็นนิสิตนักศึกษาเรียนข้ามมหาวิทยาลัย เพื่อนำหน่วยกิตและผลการศึกษาไปเป็นส่วนหนึ่งในการศึกษาตามหลักสูตรของมหาวิทยาลัยหรือสถาบันการศึกษานั้น โดยต้องลงทะเบียนเรียนรายวิชาที่สำนักทะเบียนฯ ภายในเวลาที่สำนักทะเบียนฯ กำหนด โดยมีบันทึกถึงคณะกรรมการบริหารคณะฯ ผ่านรองคณบดีฝ่ายวิชาการ
  3. ฝ่ายวิชาการนำเสนอคณะกรรมการบริหารคณะเพื่อพิจารณาอนุมัติ
  4. บุคคลภายนอกติดต่อขอชำระเงินค่าธรรมเนียมการศึกษาที่สำนักงานการทะเบียน อาคารจามจุรี 5 ชั้น 2 และแสดงความจำนงขอลงทะเบียนเรียนผ่านระบบอินเตอร์เน็ตของสำนักงานการทะเบียน (ภายในสัปดาห์ที่ 2 ของภาคการศึกษา หากได้รับอนุมัติหลังสัปดาห์ที่ 2 สทป. จะดำเนินการลงทะเบียนให้)

ได้ถ้านิสิตเรียนจบภายใน 4 ปี(ปีการศึกษา) และไม่เคยได้รับสัญลักษณ์ F หรือ U

ได้ถ้านิสิตเรียนจบภายใน 4 ปี(ปีการศึกษา) และไม่เคยได้รับสัญลักษณ์ F หรือ U

คณะวิทยาศาสตร์ไม่มีข้อกำหนดในเรื่องนี้ เพราะฉนั้น นิสิตจะลงทะเบียนเรียนเกินกี่ตัวก็ได้ แต่ต้องสำเร็จการศึกษาภายใน 4 ปี(ปีการศึกษา) และไม่เคยได้รับสัญลักษณ์ F หรือ U จึงจะมีสิทธิ์ได้เกียรตินิยม

  • ขอทบทวนคะแนนสอบ
  • ขอยกเลิกการจบการศึกษา
  • ขอลงทะเบียนล่าช้าหลังกำหนด (ต้องมีลายเซ็นอาจารย์ผู้สอน อนุญาตให้ลงทะเบียนเรียนได้ทุกวิชา)
  • ขอเก็บตัวสอบกลางภาค (ส่งภายในคณะ) และปลายภาค (ส่งสำนักทะเบียน)
  • กรณีเก็บตัวสอบกลางภาคที่มีวันเวลาซ้ำซ้อน (ในกรณีนี้สามารถลงทะเบียนเรียนได้ทั้ง2 วิชา) การเขียนเหตุผล ควรเขียนว่า เนื่องจากในวันที่......... เวลา.......... น. มีรายวิชาที่มีวันเวลาสอบกลางภาคซ้ำซ้อนกันคือ (รหัสวิชา ชื่อวิชา) และ (รหัสวิชา ชื่อวิชา) จึงขอทำการเก็บตัวสอบรายวิชา (รหัสวิชา) ในวันที่........เวลา.............น. (รายวิชาที่ควรเก็บตัวสอบควรเป็นวิชาในคณะวิทย์)
  • กรณีเก็บตัวสอบปลายภาคที่มีวันเวลาซ้ำซ้อน (ในกรณีนี้ไม่สามารถลงทะเบียนเรียนได้จะเด้งอัตโนมัติ) ถ้ามีความประสงค์จะลงทะเบียนเรียนจะเขียนเรื่องว่า ขอลงทะเบียนเรียนรายวิชา (รหัสวิชา) และขอเก็บตัวสอบปลายภาคที่มีวันเวลาซ้ำซ้อน การเขียนเหตุผลควรเขียนว่า ขอลงทะเบียนรายวิชา (รหัสวิชา ชื่อวิชา ตอนเรียน) ที่มีวันเวลาสอบปลายภาคซ้ำซ้อนกับรายวิชา รหัสวิชา ชื่อวิชา ในวันที่..........เวลา..............น. จึงขอทำการเก็บตัวสอบรายวิชา (รหัสวิชา) ในวันที่.......... เวลา.............น. หมายเหตุ ในคำร้องความเห็นอาจารย์ที่ปรึกษาจะต้องเขียนว่า ยินดีเก็บตัวสอบให้นิสิต
  • คำร้อง จท 41 ต้องผ่านความเห็นชอบจากอาจารย์ที่ปรึกษา หัวหน้าภาควิชาสำหรับนิสิตปริญญาตรีและผ่านความเห็นชอบจากอาจารย์ที่ปรึกษาและประธานกรรมการบริหารหลักสูตรสำหรับบัณฑิตศึกษา ก่อนส่งทะเบียนคณะฯ

เขียนเหตุผลที่ต้องการขอ สำหรับในช่องอนุมัติให้ ขีดถูกเท่านั้น และผู้สอนลงนามในช่องลงนามเท่านั้น ปริญญาตรีต้องผ่านความเห็นชอบจากอาจารย์ที่ปรึกษาหัวหน้าภาค บัณฑิตศึกษาผ่านความเห็นชอบจากอาจารย์ที่ปรึกษาและประธานกรรมการบริหารหลักสูตร ส่งทะเบียนคณะฯ

  • จท. 46 ใช้กับนิสิตปริญญาตรี
  • จท 46บ ใช้กับนิสิตระดับบัณฑิตศึกษา
  • นิสิตต้องเขียนเหตุผลความจำเป็นในการลงทะเบียนหน่วยกิตเกิน วิชาที่ลงทะเบียนเรียนต้องไม่มีวีน-เวลาเรียนซ้ำซ้อน กรณีที่จำนวนนิสิตเต็มต้องผ่านความเห็นชอบจากผู้ประสานงานตารางสอนตารางสอบ ผ่านความเห็นชอบจากอาจารย์ที่ปรึกษา ส่งทะเบียนคณะฯ

นิสิตจะลาพักการศึกษาได้ต้องเรียนมาแล้ว 1 ภาคการศึกษานอกจากกรณีได้รับทุนรัฐบาล หรือป่วยและหมอวินิจฉัยให้พักต้องมีใบรับรองแพทย์ที่มีเลขที่ใบประกอบวิชาชีพเวชกรรมของแพทย์แนบมาด้วย ผ่านความเห็นชอบจากอาจารย์ที่ปรึกษา ส่งทะเบียนคณะฯ

คำร้องต้องมีใบรับรองแพทย์ที่มีเลขที่ใบประกอบวิชาชีพเวชกรรมของแพทย์แนบมาด้วย ประเมินเกรดให้ได้รับ เกรดไม่เกิน C หรือเกรดตามจริง ขึ้นกับอาการของผู้ป่วย ปริญญาตรีต้องผ่านความเห็นชอบจากอาจารย์ที่ปรึกษา บัณฑิตศึกษาผ่านความเห็นชอบจากอาจารย์ที่ปรึกษาและประธานกรรมการบริหารหลักสูตร ส่งทะเบียนคณะฯ

  • ปริญญาตรีต้องผ่านความเห็นชอบจากอาจารย์ที่ปรึกษาหัวหน้าภาค บัณฑิตศึกษาผ่านความเห็นชอบจากอาจารย์ที่ปรึกษาและประธานกรรมการบริหารหลักสูตร ส่งทะเบียนคณะฯ
  • ต้องมีลายเซ็นรับรองจากห้องแลปพื้นฐาน (เคมี ฟิสิกส์ ชีว) ห้องสมุด กิจการนิสิตและความยินยอมของผู้ปกครอง

นิสิตต้องทำคำร้องผ่านระบบและ print คำร้องจากระบบผ่านความเห็นชอบจากอาจารย์ผู้สอน อาจารย์ที่ปรึกษา สำหรับนิสิตปริญาตรี บัณฑิตศึกษาไม่ต้องผ่าน ส่งทะเบียนคณะ

นิสิตต้องทำคำร้อง จท 48 พร้อมเขียนเหตุผลความจำเป็นในการทำคำร้อง ปริญญาตรีต้องผ่านความเห็นชอบจากอาจารย์ที่ปรึกษา บัณฑิตศึกษาผ่านความเห็นชอบจากอาจารย์ที่ปรึกษาและประธานกรรมการบริหารหลักสูตร ส่งทะเบียนคณะฯ

นิสิตต้องทำคำร้องโดยผ่านความเห็นชอบจากอาจารย์ที่ปรึกษาและหัวหน้าภาควิชาสังกัดเดิมและหัวหน้าภาควิชาสังกัดใหม่ แนบคำร้องพร้อมคะแนนสอบวัดความรู้

  • การลงทะเบียนเรียนสาย สามารถเพิ่มรายวิชาได้ภายใน 2 สัปดาห์แรกของภาคการศึกษา หรือสัปดาห์แรกของภาคฤดูร้อน
  • การลดรายวิชา สามารถทำการลดรายวิชาได้ภายใน 6 สัปดาห์แรกของภาคการศึกษา หรือสัปดาห์แรกของภาคฤดูร้อน
  • ติดตามรายละเอียดในกำหนดการลงทะเบียนเรียน หรือปฏิทินการศึกษา (จท90)

นิสิตติดต่อผู้ประสานงานตารางสอนตารางสอบของคณะที่นิสิตสังกัด

ให้นิสิตรอลงทะเบียนเรียนอีกครั้ง ในสัปดาห์ของการลงทะเบียนเรียนสาย (ติดตามวิธีปฏิบัติได้ในคู่มือการลงทะเบียนเรียนทางอินเตอร์เน็ต)

ตรวจสอบผลการลงทะเบียนเรียนผ่านเว็บไซต์ในหัวข้อ "ข้อมูลส่วนบุคคล" ทันทีทุกครั้งหลังจากที่ดำเนินการ ไม่ว่าจะเป็นการลงทะเบียนเรียนสาย การเพิ่มรายวิชา การลดรายวิชา หรือแม้แต่การเปลี่ยนตอนเรียน (นิสิตสามารถอ่านรายละเอียดเรื่องการตรวจสอบผลการลงทะเบียนเรียนทางเว็บไซต์ในหัวข้อ "คู่มือการลงทะเบียนเรียน")